ประวัติโดยสังเขป

โรงพยาบาลอำนาจเจริญ แรกเริ่มเมื่อปีพุทธศักราช 2485 เป็นเพียงสถานีอนามัย ที่มีนายแพทย์มานพ กุลสุจริต เป็นแพทย์ประจำคนเดียวและเป็นคนแรกของสถานีอนามัย โดยมีเตียงรองรับบริการผู้ป่วยเพียง 10 เตียงและได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นโรงพยาบาลชุมชน 30 ,60 และ 90 เตียงตามลำดับ จนกระทั้งปีพุทธศักราช 2536 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป แห่งที่ 92 ของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นโรงพยาบาลทั่วไปแห่งแรกประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
เมื่อปีพุทธศักราช 2542 นับเป็นความทรงจำครั้งยิ่งใหญ่ที่ยังอยู่ในหัวใจและความรู้สึก ของชาวจังหวัดอำนาจเจริญเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารผู้ป่วยนอกและพระราชทานนามว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2542 โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จึงได้ถือ เอาวันที่ 22 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันครบรอบจัดตั้งโรงพยาบาลอำนาจเจริญ นับตั้งแต่นั้นมา

โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

เลขที่ 291 หมู่6 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000

โทรศัพท์ : 045-511940 ถึง 48

โทรสาร : 045-511946

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : amnathos1234@gmail.com (นิติกร)

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0994000356722

จำนวนเตียง : 330 เตียง

เว็บไซต์ : https://amnathos.moph.go.th

คำขวัญ : บริการด้วยน้ำจิต ทุกชีวิตมีคุณค่า

ค่านิยม : ยิ่มแย้มแจ่มใส ใส่ใจบริการ ทำงานเป็นทีม

วิสัยทัศน์ : โรงพยาบาลทั่วไปชั้นนำของเขตสุขภาพที่ 10 ที่ประชาชนไว้วางใจ

สมรรถนะหลักขององค์กร

ระบบเครือข่ายการบริการผู้ป่วยแบบองค์รวม โรคStroke , STEMI , โรคกระดูกและข้อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

สัญลักษณ์โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
สัญลักษณ์โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
  • จุดเน้น เข็มมุ่ง
  • ความปลอดภัยของผู้รับบริการผู้ให้บริการ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • พัฒนารายได้ ผ่านกระบวนการ
  • 2.1. การพัฒนาบริการทางการแพทย์ ลดการส่งต่อ
  • 2.2. ใช้แนวคิด Lean
  • 2.3. การพัฒนาความสมบูรณ์เวชระเบียน
  • พันธกิจ
  • ให้บริการสุขภาพทุกมิติแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่องและไร้รอยต่อ
  • พัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพให้เข้มแข็ง
  • ร่วมผลิตแพทย์ และบุคลากรด้านสาธารณสุข
  • เสริมสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง
  • ยุทธศาสตร์
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายบริการ ประชาชนมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพเครือข่ายมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
  • ยกระดับคุณภาพบริการทางการแพทย์เฉพาะทาง
  • ระบบบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
  • การบริหารจัดการ ทรัพยากรบุคคล อย่างมีประสิทธิภาพ